วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ไปหาดใหญ่ครานั้น เมื่อครั้งโน้น

เดินทางไปประชุมวิชาการชมรมสาธารณสุขแห่งประเทศไทย พ.ศ.2551 ปีนั้น ภาคใต้เป็นเจ้าภาพจัดงาน ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่
อำเภอหาดใหญ่ เป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดสงขลา เป็นที่ตั้งของนครหาดใหญ่ เป็นเมืองใหญ่ที่สุดของภาคใต้ตอนล่าง หาดใหญ่เป็นเมืองที่มีชื่อเสียงในหลายด้าน เป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงโดยเฉพาะแถบประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย หาดใหญ่เป็นเมืองที่มีเศรษฐกิจใหญ่และเงินสำรองของประเทศเป็นอันดับ2รองจากกรุงเทพมหานคร เท่านั้น
ประวัติ
"หาดใหญ่" เป็นชื่อรวมของหมู่บ้านโคกเสม็ดชุนและหมู่บ้านหาดใหญ่ เดิมดินแดนหาดใหญ่เป็นเนินสูง มีผู้คนอาศัยอยู่ไม่มากนัก การคมนาคมไม่สะดวก เป็นป่าต้นเสม็ดชุน โดยทั่วไปชาวบ้านจึงเรียกว่า "บ้านโคกเสม็ดชุน" เมื่อทางการได้ตัดทางรถไฟมาถึงท้องถิ่นนี้ จึงมีประชาชนอพยพมาตั้งหลักแหล่งทำมาหากิน และเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับ
สมัยนั้นสถานีชุมทางรถไฟอยู่ที่สถานีรถไฟชุมทางอู่ตะเภา (ด้านเหนือของสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่ แต่ปัจจุบันทั้งตัวอาคารสถานีและป้ายสถานีอู่ตะเภาได้ถูกรื้อถอนออกไปหมดแล้ว) เนื่องจากพื้นที่บริเวณสถานีอู่ตะเภาเป็นที่ลุ่ม น้ำท่วมเป็นประจำ ทางการรถไฟจึงได้ย้ายสถานีมาอยู่ที่สถานีชุมทางหาดใหญ่ปัจจุบัน ประชาชนได้ทยอยติดตามมาสร้างบ้านเรือนตามบริเวณสถานีนั่นเอง ฉะนั้นอาจกล่าวได้ว่ากิจการรถไฟมีบทบาทต่อการขยับขยายและความเจริญก้าวหน้าของนครหาดใหญ่ตลอดมา
ต่อมาได้มีผู้เห็นการณ์ไกลว่า บริเวณสถานีรถไฟหาดใหญ่นี้ต่อไปภายหน้าจะต้องเจริญก้าวหน้าอย่างแน่นอน จึงได้มีการจับจองและซื้อที่ดินแปลงใหญ่จากราษฏรพื้นบ้าน บุคคลที่ครอบครองแผ่นดินผืนใหญ่ ๆ อาทิ นายเจียกีซี (ต่อมาได้รับพระราชทานนามเป็นขุนนิพัทธ์จีนนคร) คุณพระเสน่หามนตรี นายซีกิมหยง และพระยาอรรถกระวีสุนทร ทั้ง 4 ท่านนี้นับว่าเป็นบุคคลที่มีส่วนในการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าให้แก่นครหาดใหญ่อย่างแท้จริง ได้ตัดถนนสร้างอาคารบ้านเรือนให้ราษฏรเช่า ตัดที่ดินแบ่งขาย เงินที่ได้ก็นำไปตัดถนนสายใหม่ต่อไป ทำให้ท้องถิ่นรุดหน้าอย่างอัศจรรย์
ชุมชนหาดใหญ่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทางราชการต้องยกฐานะให้บ้านหาดใหญ่เป็นอำเภอ มีชื่อว่า อำเภอเหนือ ต่อมาในปี พ.ศ. 2460 ได้เปลี่ยนชื่อจากอำเภอเหนือเป็น อำเภอหาดใหญ่
ที่ตั้งและอาณาเขต
อำเภอหาดใหญ่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองจังหวัด ระยะทางห่างจากตัวเมืองสงขลา 30 กิโลเมตร อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครตามเส้นทางรถไฟประมาณ 974 กิโลเมตร และทางรถยนต์ประมาณ 993 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้


         ลักษณะทางภูมิศาสตร์
ลักษณะภูมิประเทศของอำเภอหาดใหญ่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มกว้างใหญ่ มีแนวภูเขาทางด้านทิศตะวันตก ทิศใต้ และทิศตะวันออก โดยพื้นที่ลาดจากทิศใต้และทิศตะวันตกไปสู่ทะเลสาบสงขลา มีพื้นที่ติดกับทิวเขาบรรทัดทางทิศเหนือ และติดกับทิวเขาสันกาลาคีรีทางทิศตะวันตกและทิศใต้ ภูเขาที่สำคัญได้แก่ เขาคอหงส์ เขาแก้ว เขาวังพา และเขาน้ำน้อย
สภาพภูมิอากาศมีความคล้ายคลึงกับสภาพอากาศโดยทั่วไปของภาคใต้ที่อยู่ในเขตภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน แบ่งออกเป็น 2 ฤดูกาล คือฤดูฝนและฤดูร้อน ฤดูฝนมี 2 ระยะ เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน และเดือนกันยายน-ธันวาคม
แหล่งน้ำ
คลองเตย เป็นคลองสายเก่าแก่ที่สุดของนครหาดใหญ่ อยู่ทางทิศตะวันออกของตัวเมือง ไหลเข้าสู่ทางด้านใต้ของสถานีรถไฟหาดใหญ่ ผ่านบริเวณทุ่งเสาไหลเรียบ ถนนสายต่าง ๆ
คลองอู่ตะเภา อยู่ทางด้านทิศตะวันตกของตัวเมืองหาดใหญ่ ยาวประมาณ 15 กิโลเมตร เคยเป็นเส้นทางสัญจรสำคัญระหว่างเมืองสงขลาและเมืองไทรบุรี (รัฐเกดะห์ของประเทศมาเลเซียในปัจจุบัน) แต่ ณ ปัจจุบัน (พ.ศ. 2549) คุณภาพของน้ำในคลองอยู่ในสถานการณ์น่าเป็นห่วง
        การปกครองส่วนภูมิภาค
อำเภอหาดใหญ่แบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 13 ตำบล 98 หมู่บ้าน

1.หาดใหญ่(Hat Yai)-8.ทุ่งใหญ่(Thung Yai)6 หมู่บ้าน
2.ควนลัง(Khuan Lang)6 หมู่บ้าน9.ทุ่งตำเสา(Thung Tamsao)10 หมู่บ้าน
3.คูเต่า(Khu Tao)10 หมู่บ้าน10.ท่าข้าม(Tha Kham)8 หมู่บ้าน
4.คอหงส์(Kho Hong)8 หมู่บ้าน11.น้ำน้อย(Nam Noi)10 หมู่บ้าน
5.คลองแห(Khlong Hae)11 หมู่บ้าน12.บ้านพรุ(Ban Phru)11 หมู่บ้าน
6.คลองอู่ตะเภา(Khlong U Taphao)4 หมู่บ้าน13.พะตง(Phatong)8 หมู่บ้าน
7.ฉลุง(Chalung)6 หมู่บ้าน 


ที่มาของข้อมูลเมืองหาดใหญ่
ถนนเข้าตัวเมืองหาดใหญ่



ในเมืองหาดใหญ่


เป็นอำเภอแต่เจริญกว่าหลายจังหวัด



ในเมืองหาดใหญ่ถนนบางสาย สายไฟเขาเอาลงดิน มองดูสะอาดตา






หน้าโรงแรมที่พัก


สะพานติณสูลานนท์

ทะเลสาบสงขลา

หาดสมิหลา


รถยนต์จากมาเลเซีย

ที่โคราช

วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ไป..ปากเซ..แขวงจำปาสัก..ครานั้น

ไปเที่ยวลาวใต้เมื่อหลายปีที่แล้ว พักที่ปากเซ ปากเซ (ลาวປາກເຊ) เป็นเมืองเอกของแขวงจำปาศักดิ์ อยู่ริมแม่น้ำโขง เป็นเมืองใหม่พึ่งตั้งได้ไม่นาน เมืองนี้ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำเซโดนที่บรรจบกับแม่น้ำโขงที่นี่ ปากเซ เป็นเมืองที่มีสำคัญทางด้านเศรษฐกิจกับแขวงจำปาสัก และนับว่าเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจของลาวตอนใต้ มีประชาชนหลากหลายชนชาติ เข้ามาดำรงชีวิตที่เมืองนี้ การเดินทางไปเมืองปากเซจากประเทศไทย สามารถทำได้โดย ผ่านพรมแดนที่ช่องเม็ก จังหวัดอุบลราชธานี แล้วเดินทางมาตามทางหลวงหมายเลข 10 ของลาว และเมื่อถึงแม่น้ำโขง ก็ต้องข้ามสะพานมิตรภาพลาว-ญี่ปุ่นจึงจะมาถึงเมืองปากเซ ปัจจุบันมีรถประจำทางออกจากจ.อุบลราชธานี มาถึงปากเซโดยตรง จากปากเซถึง ช่องเม็ก ระยะทางเพียง 44 กิโลเมตร
ขึ้นรถที่อุบลข้ามด่านเข้าเมืองปากเซ

ที่พักจำปาสักพาเลส

ตลาดเมืองปากเซ ปลาอุดมสมบูรณ์

ตลาดดาวเฮือง