วันอังคารที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

สถานีตำรวจชุมชนคำไผ่เปิดตลอด24ชั่วโมง

วันนี้เดินทางไปเยี่ยม รพ.สต.คำไผ่ เพื่อตรวจเยี่ยมและติดตามงานสาธารณสุขตามปกติ รพ.สต.คำไผ่ ขนาบข้างด้วยสถานที่ดังนี้ ด้านขวา เป็น อบต.คำไผ่ ส่วนในด้านซ้าย เป็นอาคารไม้ที่ก่อสร้างมาแล้วไม่ต่ำกว่า 20 ปี เรียกว่า สถานีตำรวจภูธรตำบลคำไผ่ ด้านหลังเป็นอาคารตึกแถวชั้นเดียวที่ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ไม่มีใครอาศัยอยู่ปล่อยให้ร้างไป เดินเข้าไปดูใกล้ๆตัวอาคารไม้ด้านหน้า พบป้ายไวนิลติดอยู้ด้านหน้าอาคารไม้เก่าแก่ ด้านบนสุด ข้อความเขียนว่า"ที่ทำการตำรวจผู้รับใช้ชุมชน ชุมชนบ้านพอกโนนหนองผือ"คงจะเป็นชื่อหลักของอาคารนี้ ข้างล่างลงมามีข้อความยินดีต้อนรับ และข้อความสโลแกนของชื่ออาคาร เดินเข้าไปทุกอย่างเงียบสงบ จนขนลุกซู่ เหมือนบ้านผีสิงยังงัยยังงั้น ประตูปิดตาย มีความเงียบ และเสียงกุกกักของสัตว์จำพวกตุ๊กแก จิ้งจก คละเคล้าเสียงนกกระจอก ไม่กล้าเดินเข้าไป ไม่ใจพอ เดินออกมาดีกว่า
ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน
ในปี พ.ศ. 2539 พ.ต.ท.พงศ์พัฒน์ แายาพันธุ์ รอง ผกก.หน.สน.บางขุนนท์(ยศและตำรวจแหน่งในขณะนั้น)ได้ริเริ่มนำ "ตำรวจผู้รับใช้ชุมชน" ตามทฤษฎีตำรวจผู้รับใช้ชุมชน(Community Policing) ซึ่งเป็นทฤษฎี/หลักการทำงานของตำรวจที่ใช้ได้ผลจริงในประเทศสหรัฐอเมริกาในการลดปัญหาอาชญากรรมในชุมชน มาทดลองใช้อย่างเป็นรูปธรรมครั้งแรกในประเทศไทย
ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้บัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 ภายหลังรับตำแหน่ง ผบช.ก. โครงการตำรวจผู้รับใช้ชุมชนได้แพร่หลายอีกครั้งหนึ่งแก่ตำรวจในสังกัดอย่างมากมาย เช่น ชุมชนทัพพระยา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี[1],ชุมชนบ้านหัวทาง ต.พิมาน อ.เมือง จ.สตูล[2][3] ชุมชนบ้านคลองบอน คลองดง ต.คอนสาร อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ ตามโครงการคืนชุมชนสีขาวให้สังคมโดยตำรวจทางหลวง(ส.ทล.6 กก.6 บก.ทล.(ชัยภูมิ) [4] เป็นต้น และได้ริเริ่มโครงการต่างๆ มากมายเพื่อพัฒนาบุคลากรและองค์กร เช่น บช.ก.โกอินเตอร์ [5],ร.ร.ตำรวจนอกเวลา[6],5ทฤษฎี1หลักการ ลดหวาดระแวงของประชาชน [7],MOUทางการศึกษากับนิด้า [8] เป็นต้น  ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น