วันที่ 17 กรกฎาคม 2557 รพ.สต.คำไผ่ ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ในกลุ่มเป้าหมายในเขตตำบลคำไผ่ โดยมีเจ้าหน้าที่จาก รพ.สต.คำเตย คุณนิภาพร เจริญตา พยาบาลวิชาชีพชำนาญการรพ.สต.น้ำคำ คุณเพ็ญพักต์ โพพาทอง พยาบาลวิชาชีพปฏิบัติการ และ รพ.สต.หนองคูน้อย คุณนรรถฐิยา ผลขาว นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ ร่วมให้บริการตามที่กระทรวงสาธารณสุขได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อจัดซื้อวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่
สำหรับบุคลากรกลุ่มเสี่ยง จำนวน 500,000 โด๊ส
แต่จากการสำรวจข้อมูลความต้องการใช้วัคซีนจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดและโรงพยาบาล
พบว่ามีปริมาณมากกว่าวัคซีนที่สามารถให้การสนับสนุนได้ ดังนั้น กระทรวงสาธารณสุขมีความจำเป็นต้องปรับปริมาณ
จัดสรรให้อยู่ในกรอบปริมาณที่จัดหาได้จริง ส่วนวัคซีนที่ให้บริการในกลุ่มประชาชนให้ใช้ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้จัดสรรให้
ซึ่งองค์การเภสัชกรรมจะได้จัดส่งวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทั้งหมด ไปยังโรงพยาบาลในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
สำนักงานป้องกันควบคุมโรค ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์
ศูนย์อนามัยและหน่วยงานปศุสัตว์ ด้วยระบบ Vendor
Managed Inventory (VMI)
แนวทางการดำเนินงานให้บริการวัคซีน
ปี พ.ศ. 2557 มีประเด็นสำคัญที่เปลี่ยนแปลงจากปีที่ผ่านมา ได้แก่
กลุ่มเป้าหมายภาคประชาชน และช่วงรณรงค์ ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานให้บริการวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล
ปี พ.ศ. 2557 เพื่อใช้ในการดำเนินงาน สรุปสาระที่สำคัญ ดังนี้
1. กำหนดการรณรงค์ วันที่ 1 พฤษภาคม - 31 กรกฎาคม
พ.ศ. 2557
2. การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย
2.1 บุคลากรที่มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสโรคไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล
และไข้หวัดนก ซึ่งบุคลากรกลุ่มนี้อาจเป็นผู้แพร่โรคต่อไปยังผู้มีความเสี่ยงต่อโรคสูง
และ/หรือเป็นผู้ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาลและไข้หวัดนกพร้อมๆ
กัน ซึ่งอาจก่อให้เกิดการกลายพันธุ์ของเชื้อไข้หวัดนกได้ บุคลากรกลุ่มนี้ประกอบด้วย
2.1.1 แพทย์ พยาบาล และบุคลากรอื่นๆ ในโรงพยาบาลทั้งที่ทำงานในหอผู้ป่วย
และตึกผู้ป่วย นอก
รวมถึงนักศึกษาฝึกงานในแต่ละวิชาชีพ
2.1.2 เจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ทำหน้าที่ในการสอบสวนควบคุมโรค
2.1.3 เจ้าหน้าที่และอาสาสมัครทำลายซากสัตว์ปีก
และสัตว์อื่นที่สงสัยติดเชื้อไข้หวัดนก
2.1.4 เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการตรวจวินิจฉัยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่
2.2 ประชาชนกลุ่มเสี่ยง ประกอบด้วย
2.2.1 ผู้มีโรคเรื้อรัง ดังนี้ ปอดอุดกั้นเรื้อรัง หอบหืด หัวใจ
หลอดเลือดสมอง ไตวาย ผู้ป่วย มะเร็งที่อยู่ระหว่างการได้รับเคมีบำบัด และเบาหวาน
2.2.2 บุคคลที่มีอายุ ๖๕ ปีขึ้นไป
2.2.3 หญิงมีครรภ์ อายุครรภ์ 4 เดือนขึ้นไป
2.2.4 เด็กอายุ ๖ เดือน ถึง ๒ ปี
2.2.5 ผู้พิการทางสมองที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้
2.2.6 ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย และผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง
(รวมผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีอาการ)
2.2.7 บุคคลโรคอ้วน (น้ำหนักตั้งแต่ ๑๐๐ กิโลกรัม หรือ BMI ตั้งแต่ ๓๕ กิโลกรัมต่อตารางเมตร)
สำหรับปี พ.ศ. 2557 ภาครัฐสนับสนุนให้วัคซีนแก่ บุคลากรและประชาชนกลุ่มเสี่ยง โดยประชาชนกลุ่มเสี่ยงเน้นในกลุ่ม 2.2.1 ถึง 2.2.4 สำหรับกลุ่มเสี่ยงอื่นที่มีความประสงค์ขอรับบริการให้พิจารณาฉีดวัคซีนตามความเหมาะสม ไม่ควรปฏิเสธการให้บริการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบบริหารจัดการของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
สำหรับปี พ.ศ. 2557 ภาครัฐสนับสนุนให้วัคซีนแก่ บุคลากรและประชาชนกลุ่มเสี่ยง โดยประชาชนกลุ่มเสี่ยงเน้นในกลุ่ม 2.2.1 ถึง 2.2.4 สำหรับกลุ่มเสี่ยงอื่นที่มีความประสงค์ขอรับบริการให้พิจารณาฉีดวัคซีนตามความเหมาะสม ไม่ควรปฏิเสธการให้บริการ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับระบบบริหารจัดการของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
3. จุดให้บริการวัคซีน
หน่วยให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุข เช่น โรงพยาบาล
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.)
หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ คลินิกโรคเรื้อรัง หรือคลินิกพิเศษ เป็นต้น การให้บริการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ในกลุ่มเป้าหมายให้ดำเนินการภายใต้การกำกับดูแลของแพทย์
(วันที่มีแพทย์มาให้บริการ) โดยต้องมีอุปกรณ์ช่วยชีวิต (Emergency Kit) ที่ครบถ้วนพร้อมใช้งาน
และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานทุกคนจะต้องได้รับการทบทวนวิธีการช่วยชีวิตเบื้องต้นเพื่อเตรียมรับผู้ป่วยฉุกเฉินที่อาจเกิดอาการภายหลังได้รับวัคซีนอย่างรุนแรง
4. เฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์ที่เกิดจากการฉีดวัคซีน
ในกรณีที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการฉีดวัคซีน
ให้โรงพยาบาลและหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการสอบสวนตามระบบของสำนักระบาดวิทยาและช่วยเหลือเบื้องต้นอย่างทันท่วงทีตามสมควรแก่กรณี
และรายงานให้ผู้บริหารระดับ จังหวัด อำเภอ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบโดยเร็ว
เพื่อดำเนินงานสอบสวนหาสาเหตุ ตลอดจนให้การดูแลทั้งผู้รับบริการและครอบครัว
รวมถึงเจ้าหน้าที่ที่ให้บริการวัคซีนด้วย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น